วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผมชอบจัง! “ร้อยลูกปัด” เรียนคณิตศาสตร์ในศิลปะ

นางนงลักษณ์ ศรีสุวรรณ ผู้บุกเบิกคณิตศาสตร์ในศิลปะ

น้องปรายกับกำไลฝีมือตัวเอง

เริ่มต้นด้วยการออกแบบ

"ลูกปัด" วัตถุดิบ

การประยุกต์ใช้กับการทอผ้า

หากคุณมีภาพความทรงจำที่แสนจะโหดร้ายในห้อง เรียนซึ่งมีเพียงกระดานดำกับคุณครูดุๆ ลบอดีตนั้นทิ้งไปเสีย ผู้จัดการวิทยาศาสตร์จะพาคุณไป “ร้อยลูกปัด” การเรียนรูปแบบใหม่ที่เชื่อมโยงโลกของคณิตศาสตร์ซึ่งไม่ได้มีเพียงตัวเลข เข้ากับศิลปะและชีวิตประจำวันได้อย่างลงตัว

“การร้อยลูกปัด” เป็นแนวทางหนึ่งในการเรียนแบบบูรณาการที่ทำให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาได้เข้าเนื้อหาคณิตศาสตร์เรื่อง “แบบรูป” อย่างเป็นรูปธรรม โดยเป็นเนื้อหาหนึ่งของ “พีชคณิต” ซึ่งเกี่ยวกับ “จำนวน” และ “รูปทรงเรขาคณิตกับรูปทรงอื่นๆ” ที่ทางสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ พัฒนาตั้งแต่ พ.ศ.2544 และทางกระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุลงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2546 ทั้งนี้หลักจากนักเรียนได้เรียนรู้แบบรูปมากพอที่จะจำแนกจำนวนและรูปทรง ต่างๆ แล้ว ขั้นต่อไปคือลงมือปฏิบัติเพื่อแสดงสารพัดจินตนาการอันบรรเจิด โดยการร้อยลูกปัดให้มีรูปแบบคละขนาด รูปแบบ และสีตามความชอบ

นางนงลักษณ์ ศรีสุวรรณ ผู้ชำนาญสาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา (สสวท.) ผู้บุกเบิกการสอนหลักสูตร “แบบรูป” จากการร้อยลูกปัดกล่าวว่าเป็นการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์เข้ากับศิลปะ ทำให้นักเรียนได้เข้าใจคณิตศาสตร์อย่างสนุกสนานและยังได้ประสบการณ์ทางด้าน วิชาชีพพื้นฐานด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการสอนคณิตศาสตร์หรือวิชาชีพพื้นฐานนั้นก็ต้องสอนเรื่อง เหล่านี้อยู่แล้ว แต่ครูจะต้องรู้จักการเชื่อมโยงความรู้ทั้ง 2 ด้านเข้าหากัน ซึ่งอาจเป็นรูปแบบอื่นก็ได้ เช่น การเรียงกระดาษรูปร่างและสีต่างๆ ให้การเป็นธงประดับ หรือการถอผ้าก็เป็นอีกรูปแบบของการประยุกต์ศิลปะเข้ากับคณิตศาสตร์ได้

“วิธีการสอนดังกล่าวช่วยให้นักเรียนได้มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักออกแบบ วางแผนและได้ลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งนอกจากนักเรียนจะได้ความรู้คณิตศาสตร์แล้ว ยังได้รู้จักศิลปะและประยุกต์ใช้เข้ากับชีวิตจริงด้วย แต่ทั้งนี้การร้อยลูกปัดเป็นเพียงปลายทางของการเรียนรู้ซึ่งการออกแบบต่าง หากที่เป็นต้นทาง แต่ทั้งนี้ครูต้องออกแบบการสอนให้เป็นและเชื่อมโยงความรู้ให้ได้ จะเป็นครูคณิตศาสตร์หรือครูการงานก็ได้แต่ต้องว่าบอกเด็กได้ว่าเชื่อม โยงอย่างไร การเรียนที่ผ่านมาไม่สำเร็จเพราะเราไม่ได้เชื่อมโยงกัน

มาดูทางด้านนักเรียนกันบ้าง ด.ช.ชัชวาลย์ ครองธรรมหรือน้องปราย นักเรียนชั้น ป.5 โรงเรียนดาราคาม เป็น เด็กที่ชื่นชอบการเรียนคณิตศาสตร์ เพราะทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ หลายอย่าง และยังได้ฝึกคิด สังเกต ตีความโจทย์ปัญหา รวมถึงได้ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้บวก-ลบเงินทอนในการซื้อของจากพ่อค้า-แม่ค้าได้ เป็นต้น

น้องปรายเพิ่มเติมว่าชอบการเรียนคณิตศาสตร์ด้วยการร้อยลูกปัด ซึ่งสอนเรื่องการนับเลขว่าใส่ลูกปัดเท่าไหร่แล้ว และยังนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย เช่น ทำโมบายตกแต่งห้อง หรือทำสร้อยคอ กำไลเป็นของขวัญวันเกิดให้เพื่อนได้


ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


free-video-games
game-cheats-for-rachet-and-clank
games-entertainment-of-the-middle-ages
play-online-games
play-pokemon-games-online
sport-games
valentines-party-games
dress-up-funny-games
fun-games-to-play-for-married-couples
history-of-video-games-timeline

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น