วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

10 วิธีสังเกตข่าววิทย์แบบไหนเข้าข่าย "ลวงโลก!"

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จัดเสวนา “ข่าววิทย์ ลวงโลก!” ผู้เชี่ยวชาญศูนย์ไบโอเทคยันอนาคตหวาง วู-ซุก ดับมอดแล้ว ชี้เรื่องมนุษย์ต่างดาวเชื่อว่ามีจริงแต่ส่วนมากเป็นของเก๊ ไม่เชื่อการติดต่อผ่านทางโทรจิต แจง 10 บัญญัติจับผิดของลวงโลก–ชอบยกคำพูดหรูๆ มาตบตา โดยไม่มีเหตุผลรองรับ อ้างสรรพคุณเกินจริง ไม่ต้องพิสูจน์ และหลีกเลี่ยงการตรวจสอบเท่าที่จะทำได้

หากใครมีเวลาว่างหรือมีโอกาสไปเยี่ยมชมงาน "มหิดล-พญาไท บุ๊คแฟร์ ครั้งที่ 2" ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พญาไท ระหว่างวันที่ 7-11 ก.พ.นอกจากจะได้พบนิทรรศการและหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากมาย พร้อมกับมีการตั้งวงเสวนาเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม งานด้วย

วันนี้ (10 ก.พ.) ได้มีการจัดเสวนากันในหัวข้อ “จับผิด ข่าววิทย์ลวงโลก!" โดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านดีเอ็นเอจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เจ้าของผลงานเขียน เรื่อง "GMOs: ความจริง ความลวง และความสับสนในสังคมไทย" "มหัศจรรย์ ดีเอ็นเอ (DNA)" ทั้งภาค 1 และภาค 2

ทั้งนี้ ประเด็นที่ยากจะหลีกเลี่ยงไม่กล่าวถึงในครั้งนี้ก็คงจะเป็นเรื่องของ ดร.หวาง วู-ซุก (Hwang Wu-Suk) นักวิจัยสเต็มเซลล์ชาวเกาหลี อดีตเจ้าของรางวัลขวัญใจมหาชนแดนกิมจิ ชั่วหลายปีมานี้ ที่ต้องย่อยยับลงไปเมื่อมีการจับได้ว่า ผลงานสเต็มเซลล์ต่างๆ นานาของเขา เป็นเรื่องโกหกทั้งเพ อีกทั้งยังกระทำผิดจริยธรรมนักวิจัย ซึ่งเขาไปบังคับให้ลูกทีมให้บริจาคเซลล์ไข่เพื่อการทดลองด้วย โดยผลพลอยได้ที่แม้แต่ดร.หวางเองก็ไม่อยากได้คือ มีการตั้งข้อสงสัยถึงผลงานทั้งหมดที่เขาเคยอวดอ้างสรรพคุณว่าจริงแท้และแน่ นอนว่า “มีชิ้นไหนบ้างที่เก๊และชิ้นไหนบ้างที่จริงชนิดทองแท้ไม่กลัวไฟ!!?”

สำหรับผลกรรมที่ ดร.หวาง ฮีโร่กำมะลอคนนี้จะได้รับแน่นอนจากพฤติกรรมฉาวคือ จะไม่มีใครเชื่อถือเขาอีกต่อไป ส่วนรายงานวิชาการที่เขาได้ (ถูก) บังคับให้ถอนจากวารสารไซน์ (Science) ก็จะไม่มีการอ้างอิงใดๆ ต่อไปอีก เสมือนว่าไม่เคยมีรายงานหรือการทดลองนี้เกิดขึ้นมาในโลกนี้เลย !!!

อย่างไรก็ตาม นอกจากประเด็นฮอตเรื่องดร.หวางแล้ว ได้มีผู้ขอความคิดเห็นเรื่องการมีอยู่จริงของมนุษย์ต่างดาวต่อ ดร.นำชัย ด้วยว่า เป็นเรื่องจริงหรือไม่? ซึ่งเขาตอบว่า โดยความคิดเห็นส่วนตัวแล้ว เขาเชื่อว่าในจำนวนดวงดาวที่มีอยู่มากมายเหลือคณานับ ย่อมมีโอกาสที่จะมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้บ้าง

ทว่า ที่มีการเผยแพร่ผ่านทางสื่อมวลชนต่างๆ นั้นเชื่อว่าไม่เป็นความจริง ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการสำรวจเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง พบว่า ในช่วงใดก็ตามที่มีภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับมนุษย์ต่างดาวออกมามาก ก็จะมีผู้อ้างว่าเห็นมนุษย์ต่างดาวมากขึ้นตามไปด้วย ส่วนในเรื่องที่มีผู้อ้างว่าสามารถติดต่อกับมนุษย์ต่างดาวผ่านทางโทรจิตนั้น เขาเชื่อว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

ไม้เด็ดที่ ดร.นำชัย นำมาบอกเล่าในวงเสวนาคือ “บัญญัติ 10 ประการ” ในการจับผิดข่าววิทย์ลวงโลก หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วิทยาศาสตร์เทียม” หรือ “วิทยาศาสตร์เก๊” ได้แก่ 1. ความก้าวหน้าในแวดวงวิทยาศาสตร์ย่อมจะมีความก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ หากพบว่าเมื่อเวลาผ่านไปมากแล้ว แต่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยังเป็นข้อมูลเดิมๆ อยู่ ทั้งที่ไม่ได้เป็นข้อมูลพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยากจะหาข้อมูลมาหักล้างได้ ก็อาจตั้งข้อสงสัยได้ว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียม

2.งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มักมีการทำซ้ำเพื่อยืนยันผลการวิจัยที่ชัดเจนเพียงอย่างเดียว ดังนั้นควรมีการตรวจสอบว่าเคยมีผู้ใดทดลองซ้ำบ้างหรือไม่ และได้ผลตรงกันหรือต่างกันเพียงใด 3. ข่าววิทย์เก๊บางชิ้นมักมีเนื้อหาหรือกล่าวถึงการทดลองที่อยู่ในวงจำกัดเฉพาะกลุ่มตัวเองเท่านั้น หรืออาจเกี่ยวพันกับสถาบันน้อยแห่ง อีกทั้งมักมีเนื้อหาการวิจัยที่เก่ามากนับสิบปี

4.งานวิจัยหรือการค้นพบใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ส่วนมากมักสอดคล้องกับการค้นพบที่มีอยู่แล้ว 5. บทความวิทยาศาสตร์เทียมทั้งหลายที่อ้างว่าเชื่อถือได้ มักจะไม่ค่อยมีเอกสารอ้างอิงที่เชื่อถือได้อื่นๆ มารองรับ 6.วิทยาศาสตร์เทียมมักใช้ศัพท์ที่ดูเป็นวิชาการอย่างฟุ่มเฟือย แต่คลุมเครือ หาความชัดเจนไม่ได้

7.วิทยาศาสตร์เทียมมักมีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงชนิดที่ฟังดูก็รู้เช่น งานวิจัยชิ้นนี้มีความถูกต้องมากที่สุด ไม่มีทางผิด และไม่ต้องรับการพิสูจน์ใดๆ อีก 8.วิทยาศาสตร์เทียมมักมีการหยิบยกประโยคสวยหรูมาตบตาอยู่เสมอๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์เลย เช่น “ยังมีเรื่องอีกมากมายในใต้หล้าที่เรายังไม่อาจล่วงรู้ได้” หรือบางครั้งก็หยิบยกคำพูดของนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังมากลบเกลื่อน เช่น “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” ของอัลเบิร์ต ไอสไตน์

9.เมื่อมีการวิพากษ์วิจารณ์ปะปนอยู่ด้วย มักเน้นการโจมตีผู้วิพากษ์วิจารณ์ตัวเอง มากกว่าการอธิบายข้อสงสัยหรือข้อกล่าวหา และ 10.บางครั้งอาจหลีกเลี่ยงการตรวจสอบโดยผู้อื่น โดยอ้างว่าการทดลองได้ผลบ้างในบางครั้ง ส่วนบางครั้งอาจไม่ได้ผล ผิดกับวิทยาศาสตร์แท้ที่ต้องทำซ้ำได้ผลการทดลองแบบเดิมเสมอ

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th

ncaa-basketball-games-watch-online
play-arcade-games-online
super-bowl-party-games
the-n-game
best-pc-games
free-online-soccer-games
interactive-math-games
virtual-cooking-games
disney-pixar-cars-games
free-educational-games

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น